ศ.นพ.สมนึก สังฆานุภาพ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก Somnuek Sungkanuparph เป็นข้อมูลและความคิดเห็นส่วนตัวในการรักษาโรค COVID-19 และประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยตลอด 6 สัปดาห์ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับทีมที่ดูแลผู้ป่วย สรุปได้ว่า…
1.รายที่ไม่มีภาวะปอดอักเสบ อาจไม่ต้องให้ยาอะไรเลยก็หาย2.สิ่งสำคัญที่สุดในการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยประจำวัน คือการตรวจเพื่อหาภาวะปอดอักเสบ ด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด3.ภาวะการพร่องออกซิเจนขณะออกแรง หายใจลำบาก เป็นอาการแสดงที่เร็วที่สุดที่จะพบหากมีภาวะปอดอักเสบ4.ภาวะปอดอักเสบจะเกิดขึ้นประมาณ วันที่ 7-12 ของการเจ็บป่วย5.ยา Hydroxychloroquine ดีกว่ายา Chloroquine และมีประโยชน์หากมีภาวะปอดอักเสบ แต่ประโยชน์ทางการรักษายังไม่ชัดเจน หากมีผลข้างเคียงควรหยุด6.Lopinavir/Ritonavir (ยาในกลุ่มยาต้านไวรัส HIV) ประโยชน์น้อย ได้ไม่คุ้มเสีย อาจมีผลข้างเคียงคือภาวะท้องร่วงเฉียบพลัน ซึ่งทำให้แพร่เชื้อ เสี่ยงกับคนทำความสะอาด และเสียยา Favipiravir ออกไปกับการถ่ายเหลว
7.Darunavir/Ritonavir ไม่มีประโยชน์ตั้งแต่การทำทดลองในหลอดทดลอง8.ยา Azithromycin (ยาฆ่าเชื้อที่มักใช้รักษาคอแดงอักเสบ หรือยาร่วมในการรักษาปอดอักเสบ) ไม่มีประโยชน์9.Faviravir เป็นยาสำคัญที่สุด ควรเริ่มให้เร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มเจอภาวะปอดอักเสบ10.ถ้าเจอภาวะปอดอักเสบ ภาพถ่ายรังสีทรวงอกจะเปลี่ยนแปลงทุกวัน ให้ติดตามดีๆ11.การพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจในผู้มีภาวะปอดอักเสบ และเริ่มมีการหายใจผิดปกติ ในช่วงเริ่มมีอาการ ดีกว่ารอจนไม่ไหวจริงๆ12.เลือกใส่ท่อด้วยวิธีการใส่ท่อช่วยหายใจแบบรวดเร็วโดยการใช้ยานำสลบร่วมด้วย ดีกว่าการใส่ท่อในภาวะฉุกเฉิน  
13.ยาTocilozumab อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง14.ไม่แนะนำยาสเตียรอยด์ในการรักษา ถ้าจะใช้ให้พิจารณาเป็นรายๆ อย่างรอบคอบ15.เมื่อถึงจุดที่รุนแรงมาก และการปรับเครื่องช่วยหายใจไม่สามารถแก้ภาวะพร่องออกซิเจนได้ อาจจะพิจารณารักษาโดยจับผู้ป่วยนอนคว่ำ16.ถ้าภาวะพร่องออกซิเจนแย่ลง ไม่สัมพันธ์กับภาพถ่ายรังสี ให้ระวังภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด17.ภาวะแทรกซ้อนที่เจอ คืออาจมีภาวะไตวาย หรือตับวาย เจอบ่อยกว่าที่คิด ในรายที่ไตวายรุนแรงอาจต้องพิจารณาฟอกไต18.เจอภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วยเชื้อแบคทีเรียน้อยมาก อย่าพิจารณาให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยไม่จำเป็น
Advertisement